วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ภาคผนวก - แบบสอบถาม


แบบสอบถาม

ความต้องการในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6

คำชี้แนะการกรอกแบบสอบถาม

1.หลักสูตร มีความประสงค์จะเก็บข้อมูลจากผู้สอบสัมภาษณ์

2.โปรดตอบคำถามตามระดับความคิดเห็นของท่านที่ตรงกับความคิกเห็นของท่านมากที่สุด

        1) อายุ .......ปี

        2) เพศ (  ) ชาย      (  ) หญิง

        3) กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น......................ห้อง..........


       -แผนกการเรียน (  )ศิลป์-สังคม ,(  )ศิลป์-ภาษา ,(  ) ศิลป์-คำนวณ ,(  )วิทย์-คณิต


        4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (เกรดเฉลี่ยสะสม ณ ปัจจุบัน)


        (  ) 0.00-1.99               (  ) 2.00-2.99                 (  ) 3.00-4.00

ตอนที่2  ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา


 ให้ทำเครื่องหมาย √ ลงในช่องที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุดตามความคิดเห็นของท่าน


ตอนที่ 2.1 มหาวิทยาลัยที่คุณต้องการเข้าศึกษามากที่สุด (เลือกได้1มหาวิทยาลัย เพื่อจะนำไปตอบคำถามในตอนที่2.2 และ2.3 ต่อไป)


   (  ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (  )มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
   (  ) มหาวิทยาลัยมหิดล (  )มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
   (  ) มหาวิทยาลัยศิลปากร (  )มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
   (  ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (  )มหาวิทยาลัยขอนแก่น
   (  ) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (  )มหาวิทยาลัยบูรพา
   (  ) มหาวิทยาลัยพะเยา (  )มหาวิทยาลัยราชภัฏต่างๆ
   (  ) อื่นๆ ระบุ..............................

ตอนที่ 2.2 ความคิดเห็นของนักเรียนต่อมหาวิทยาลัย


ตอนที่ 2.3 ปัจจัยในการเลือกสถานศึกษา



ตอนที่ 3 สถานภาพทางครอบครัว

1.สถานภาพครอบครัว

    (  ) บิดา-มารดาอยู่ด้วยกัน                                   (  )บิดา-มารดาหย่าร้าง
    (  ) บิดา-มารดาคนใดคนหนึ่งเสียชีวิต หรือทั้งคู่

 2. รายได้หลักของครอบครัวมาจากใคร

 (   ) 1. หัวหน้าครอบครัว   (   ) 2. สามี/ภรรยา   (   ) 3. บิดามารดา
 (   ) 4. บุตร /หลาน             (   ) 5. พี่น้อง             (   ) 6. ลุงป้าน้าอา  

 3.  ความเพียงพอของรายได้สำหรับรายจ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของครอบครัว

   3.1  ครอบครัวของท่านมีรายได้เป็นอย่างไร

   (   ) 1. รายรบมากกว่ารายจ่าย   (   ) 2. รายรับ –รายจ่ายพอๆกัน  (   ) 3. รายรับน้อยกว่ารายจ่าย

   3.2  ครอบครัวของท่านมีหนี้สินหรือไม่

   (   ) 1.ไม่มี           (   ) 2. มีน้อย         (   ) 3. มีปานกลาง         (  ) 4. มีมาก

   3.3  ครอบครัวของท่านมีเงินออมหรือไม่

   (   ) 1. ไม่มี          (   ) 2. มีน้อย         (   ) 3. มีปานกลาง         (  ) 4. มีมาก

 4.รายได้ผู้ปกครองเฉลี่ยต่อเดือน

     (  ) น้อยกว่า 5,000 บาท (  ) 5,000 - 10,000 บาท
     (  ) 10,001 - 20,000 บาท (  ) 20,001 - 30,000 บาท
     (  ) มากกว่า 30,000 บาท

ตอนที่ 4 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

อ้างอิง


วสุชาดา กุลพันธ์ และคณะ. (2554). โครงการการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนนักศึกษาที่มีต่อการใช้ บริการห้องสมุด   วิทยาลัยการอาชีพเลิงนกทา. โครงการการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิชาชีพการโรงแรม, วิทยาลัยการอาชีพเลิงนกทา

สารานุกมเสรี. (2556,กุมภาพันธ์). มหาวิทยาลัยรัฐบาล. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก:
        http://th.wikipedia.org/wiki/ (วันที่ค้นข้อมูล : 3 มกราคม 2556)

สารานุกมเสรี. (2556,กุมภาพันธ์). มหาวิทยาลัยเอกชน. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก:
        http://th.wikipedia.org/wiki/ (วันที่ค้นข้อมูล : 3 กันยา 2556)

Katae tawaD (2554). ,วิธีการเรียนในมหาวิทยาลัย . [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก:
        http://blog.eduzones.com/racchachoengsao/11442 (วันที่ค้นข้อมูล : 3 มกราคม 2556)

บทที่ 5 - สรุปการดำเนินงานวิจัย อภิปรายผลการดำเนินการงานวิจัย


        งานวิจัย ปัจจัยที่ส่งผลในการเลือกเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5
พะเยาพิทยาคม ประกอบด้วย
        1) สรุปผลการดำเนินงานการวิจัย
        2) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลในการเลือกเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา
        3)ผลวิเคราะห์สถานภาพทางครอบครัว

สรุปผลการวิจัย ปรากฏดังนี้

        งานวิจัยศึกษาปัจจัยที่ส่งผลในการเลือกเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 พะเยาพิทยาคม ผู้จัดทำงานวิจัยมีวัตถุประสงค์
        1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลในการเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
        2. เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีสถานภาพต่างกันในด้าน เพศของนักเรียน รายได้ และอาชีพของผู้ปกครองต่อการ  เลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษ
        3. เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจในการเลือกเข้ามหาวิทยาลัย

        ซึ่งในการศึกษาหาผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพะเยาพิทยาคม เลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน30 ชุด และ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D สามารถสรุปได้ดังนี้

        ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม มีทั้งหมด 30คน คิดเป็นร้อยละ 100 เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 40 จำนวน 12 คน เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 60 จำนวน 18 คน

        ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์มหาวิทยาลัยที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาต้องการเข้ามากที่สุด พบว่า ของกลุ่มตัวอย่าง มหาวิทยาลัยที่อยากเข้ามากที่สุด คือ  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คิดเป็นร้อยละ 43.33 จำนวน 13คน รองลงมาคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คิดเป็นร้อยละ 30.00 จำนวน 9 คน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 10.00 จำนวน 3 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 6.67 จำนวน 2 คน มหาวิทยาลัยมหิดล คิดเป็นร้อยละ 3.33 จำนวน 1 คน มหาวิทยาลัยศิลปากร คิดเป็นร้อยละ 3.33 จำนวน 1 คน และมหาวิทยาลัยนเรศวร คิดเป็นร้อยละ 3.33 จำนวน 1 คน ตามลำดับ

        อภิปรายปัจจัยที่ส่งผลในการเลือกเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 พะเยาโรงเรียนพิทยาคม พบว่า ระดับปัจจัย ของกลุ่มตัวอย่างที่เลือกเรียนต่อในระดับอุดมศึกษามากที่สุดคือ ด้านคิดเห็นของนักเรียนต่อมหาวิทยาลัย มีค่าเฉลี่ย ( = 4.41) รองลงมาคือ ด้านความน่าเชื่อถือของมหาวิทยาลัยต่อผู้เข้าศึกษา มีค่าเฉลี่ย (= 4.45)

        ตอนที่ 3 ผลวิเคราะห์สถานภาพทางครอบครัวพบว่า 

        1. ด้านสถานภาพครอบครัว พบว่า บิดา-มารดาอยู่ด้วยกัน คิดเป็นร้อยละ80 จำนวน 24 คน บิดา-มารดาหย่าร้าง คิดเป็นร้อยละ 10.00 จำนวน 3 คน และบิดา-มารดาคนใดคนหนึ่งเสียชีวิต หรือทั้งคู่ คิดเป็นร้อยละ 10.00 จำนวน 3 คน 

        2. รายได้หลักของครอบครัวพบว่า มีรายได้หลักมาจากบิดามารดามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 60.00 จำนวน 18 คน รองลงมาคือ หัวหน้าครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 20.00 จำนวน 6 คน สามี/ภรรยา คิดเป็น 16.67 จำนวน 5 คน และ ลุง/ป้า/น้า/อา คิดเป็นร้อยละ3.33 จำนวน 1 คน

        3. ความเพียงพอของรายได้สำหรับรายจ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของครอบครัว แบ่ง3ข้อ พบว่า คือ 
                3.1 ด้านตามครอบครัวของท่านมีรายได้เป็นอย่างไร พบว่า  รายรับ-รายจ่ายพอๆกัน มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 76.67 จำนวน 23 คน รายรับน้อยกว่ารายจ่าย คิดเป็นร้อยละ 16.67 จำนวน 5 คน และรายรับมากกว่ารายจ่ายคิดเป็นร้อยละ 6.67 จำนวน 2 คน
                3.2 ด้านหนี้สินของครอบครัว พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีหนี้สินระดับปานกลางมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 63.33 จำนวน 19 คน รองลงมาคือ มีน้อยคิดเป็นร้อยละ 20 จำนวน 6 คน มีมากคิดเป็นร้อยละ 13.33 จำนวน 4 คน และไม่มีคิดเป็นร้อยละ 3.33 จำนวน 1 คน
                3.3 ด้านเงินออมของครอบครัว พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีเงินออมอยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 70.00 จำนวน 21 คน รองลงมาคือ มีน้อยคิดเป็นร้อยละ 30.00 จำนวน 9 คน

        4. ด้านรายได้ของผู้ปกครองเฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีรายได้ของผู้ปกครองเฉลี่ยต่อเดือน 10000-20000 บาท มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 26.67 จำนวน 8 คน รองลงมาคือ 5000-10000 บาทและ มากกว่า 30000บาท คิดเป็นร้อยละ23.33 จำนวน 7 คน และ น้อยกว่า 5000 บาท คิดเป็นร้อยละ 13.33 จำนวน 4 คน

อภิปรายผลการดำเนินการงานวิจัย

ตอนที่ 1 ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล

        แสดงปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนพะเยาพิทยาคม ผู้วิจัยสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
เมื่อจำแนกตามเพศ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 40 จำนวน 12 คน เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 60 จำนวน 18 คน
        เมื่อจำแนกตามอายุพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีอายุ 16 ปี ร้อยละ 23.33 จำนวน 7 คน อายุ 17 ปี คิดเป็นร้อยละ 73.33 จำนวน 22 คน อายุ18 ปี คิดเป็นร้อยละ 3.33 จำนวน 1 คน
เมื่อจำแนกตามการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม อยู่ในระดับชันมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนกการเรียน วิทย์-คณิต คิดเป็นร้อยละ 100 จำนวน 30 คน
        เมื่อจำแนกตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีผลการเรียนอยู่ที่ 2.00-2.99 คิดเป็นร้อยละ 13.33 จำนวน 4 คน  3.00-4.00 คิดเป็นร้อยละ 86.67 จำนวน 26 คน

ตอนที่ 2 ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการศึกษาต่อมหาวิทยาลัย

        เมื่อทำการพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มหาวิทยาลัยที่ต้องการเข้ามากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คิดเป็นร้อยละ 43.33 จำนวน 13คน รองลงมาคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คิดเป็นร้อยละ 30.00 จำนวน 9 คน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 10.00 จำนวน 3 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 6.67 จำนวน 2 คน มหาวิทยาลัยมหิดล คิดเป็นร้อยละ 3.33 จำนวน 1 คน มหาวิทยาลัยศิลปากร คิดเป็นร้อยละ 3.33 จำนวน 1 คน และมหาวิทยาลัยนเรศวร คิดเป็นร้อยละ 3.33 จำนวน 1 คน ตามลำดับ
        ด้านคิดเห็นของนักเรียนต่อมหาวิทยาลัย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (= 4.41) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อมหาวิทยาลัยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ 3. รู้สึกภูมิใจที่ได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ และ 5. ข้าพเจ้าต้องการเข้ามหาวิทยาลัยแห่งนี้ ค่าเฉลี่ย(= 4.70) รองลงมาคือข้อ4. กล่าวถึงมหาวิทยาลัยแห่งนี้ มีค่าเฉลี่ย(=4.33) และข้อ1. พอใจกับหลักสูตรของมหาวิทยาลัย และข้อ2. จบมาแล้วมีงานมารองรับ มีค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง (= 4.16) ตามลำดับ

        ด้านความน่าเชื่อถือของมหาวิทยาลัยต่อผู้เข้าศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 
(= 4.45) เมื่อทำการพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อความน่าเชื่อถือของมหาวิทยาลัยระดับมากที่สุดคือข้อ 2. คุณภาพทางการศึกษา มีค่าเฉลี่ย (= 4.56) รองลงมาคือข้อ 
1. ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย และ ข้อ3. มหาวิทยาลัยมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคม มีค่าเฉลี่ย 
(= 4.50) ระดับปานกลางคือ ข้อ5. มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นมหาวิทยาลัยที่สร้างชื่อเสียงให้แก่สังคม มีค่าเฉลี่ย (= 4.46) และในข้อ 4. อาจารย์ในมหาวิทยาลัยมีความรู้ ความสามารถที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปและข้อ 6. หลักสูตรที่เปิดสอนมีความเหมาะสมและน่าสนใจ มีค่าเฉลี่ยน้อย (= 4.36) ตามลำดับ

ตอนที่ 3 ผลวิเคราะห์สถานภาพทางครอบครัวพบว่า 

        ด้านสถานภาพครอบครัว พบว่า บิดา-มารดาอยู่ด้วยกัน คิดเป็นร้อยละ80 จำนวน 24 คน บิดา-มารดาหย่าร้าง คิดเป็นร้อยละ 10.00 จำนวน 3 คน และบิดา-มารดาคนใดคนหนึ่งเสียชีวิต หรือทั้งคู่ คิดเป็นร้อยละ 10.00 จำนวน 3 คน 

        ด้านรายได้หลักของครอบครัวพบว่า มีรายได้หลักมาจากบิดามารดามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 60.00 จำนวน 18 คน รองลงมาคือ หัวหน้าครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 20.00 จำนวน 6 คน สามี/ภรรยา คิดเป็น 16.67 จำนวน 5 คน และ ลุง/ป้า/น้า/อา คิดเป็นร้อยละ3.33 จำนวน 1 คน

        ด้านความเพียงพอของรายได้สำหรับรายจ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของครอบครัว แบ่ง3ข้อ พบว่า คือ 
                1.ด้านตามครอบครัวของท่านมีรายได้เป็นอย่างไร พบว่า  รายรับ-รายจ่ายพอๆกัน มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 76.67 จำนวน 23 คน รายรับน้อยกว่ารายจ่าย คิดเป็นร้อยละ 16.67 จำนวน 5 คน และรายรับมากกว่ารายจ่ายคิดเป็นร้อยละ 6.67 จำนวน 2 คน
                2.ด้านหนี้สินของครอบครัว พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีหนี้สินระดับปานกลางมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 63.33 จำนวน 19 คน รองลงมาคือ มีน้อยคิดเป็นร้อยละ 20 จำนวน 6 คน มีมากคิดเป็นร้อยละ 13.33 จำนวน 4 คน และไม่มีคิดเป็นร้อยละ 3.33 จำนวน 1 คน
                3.ด้านเงินออมของครอบครัว พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีเงินออมอยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 70.00 จำนวน 21 คน รองลงมาคือ มีน้อยคิดเป็นร้อยละ 30.00 จำนวน 9 คน

  ด้านรายได้ของผู้ปกครองเฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีรายได้ของผู้ปกครองเฉลี่ยต่อเดือน 10000-20000 บาท มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 26.67 จำนวน 8 คน รองลงมาคือ 5000-10000 บาทและ มากกว่า 30000บาท คิดเป็นร้อยละ23.33 จำนวน 7 คน และ น้อยกว่า 5000 บาท คิดเป็นร้อยละ 13.33 จำนวน 4 คน


        ข้อเสนอแนะ
        1. ควรจะเพิ่มระยะในการทำวิจัยให้มากกว่านี้
        2. การทำวิจัยควรทำอย่างต่อเนื่อง
        3. ในการทำวิจัยควรจะมีการวางแผนให้มากกว่านี้

บทที่ 4 - ผลการดำเนินงาน


        งานวิจัย ความต้องการในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลการดำเนินงานวิจัยดังนี้
        1) ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
        2) การวิเคราะห์ความคิดเห็น 3)สถานภาพทางครอบครัว มีรายละเอียดดังนี้

ตอนที่ 1 ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล

ตารางที่ 4.1 แสดงจำนวนร้อยละปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล


        จากตารางที่ 4.1 แสดงปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง  ซึ่งเป็นนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม ผู้วิจัยสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้

        เมื่อจำแนกตามเพศ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 40 จำนวน 12 คน เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 60 จำนวน 18 คน

        เมื่อจำแนกตามอายุพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีอายุ 16 ปี ร้อยละ 23.33 จำนวน 7 คน อายุ 17 ปี คิดเป็นร้อยละ 73.33 จำนวน 22 คน อายุ18 ปี คิดเป็นร้อยละ 3.33 จำนวน 1 คน

        เมื่อจำแนกตามการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม อยู่ในระดับชันมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนกการเรียน วิทย์-คณิต คิดเป็นร้อยละ 100 จำนวน 30 คน

        เมื่อจำแนกตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีผลการเรียนอยู่ที่ 2.00-2.99 คิดเป็นร้อยละ 13.33 จำนวน 4 คน  3.00-4.00 คิดเป็นร้อยละ 86.67 จำนวน 26 คน

ตอนที่ 2 ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการศึกษาต่อมหาวิทยาลัย

ตารางที่ 4.1 มหาวิทยาลัยที่คุณต้องการเข้าศึกษาต่อมากที่สุด


        จากตารางที่ 4.1 แสดงมหาวิทยาลัยที่คุณต้องการเข้าศึกษาต่อมากที่สุดของกลุ่มตัวอย่าง  ซึ่งเป็นนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม ผู้วิจัยสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้

        เมื่อทำการพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มหาวิทยาลัยที่ต้องการเข้ามากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คิดเป็นร้อยละ 43.33 จำนวน 13คน รองลงมาคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คิดเป็นร้อยละ 30.00 จำนวน 9 คน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 10.00 จำนวน 3 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 6.67 จำนวน 2 คน มหาวิทยาลัยมหิดล คิดเป็นร้อยละ 3.33 จำนวน 1 คน มหาวิทยาลัยศิลปากร คิดเป็นร้อยละ 3.33 จำนวน 1 คน และมหาวิทยาลัยนเรศวร คิดเป็นร้อยละ 3.33 จำนวน 1 คน ตามลำดับ

ตาราง 4.2 ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยพิมพ์สมการที่นี่งเบนมาตรฐาน (S.D) ระดับความต้องการในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้านคิดเห็นของนักเรียนต่อ  มหาวิทยาลัย โดยภาพรวม



        จากตารางที่ 4.2 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (= 4.41) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อมหาวิทยาลัยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ 3. รู้สึกภูมิใจที่ได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ และ 5. ข้าพเจ้าต้องการเข้ามหาวิทยาลัยแห่งนี้ ค่าเฉลี่ย (= 4.70) รองลงมาคือข้อ4. กล่าวถึงมหาวิทยาลัยแห่งนี้ มีค่าเฉลี่ย (= 4.33) และข้อ 1. พอใจกับหลักสูตรของมหาวิทยาลัย และข้อ 2. จบมาแล้วมีงานมารองรับ มีค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง (= 4.16) ตามลำดับ

        ตารางที่ 4.3 ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ระดับความต้องการในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้านความน่าเชื่อถือของมหาวิทยาลัยต่อผู้เข้าศึกษา


        จากตารางที่ 4.3 กลุ่มตัวอย่างต้องการในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย (= 4.45)
        เมื่อทำการพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อความน่าเชื่อถือของมหาวิทยาลัย ระดับมากที่สุดคือข้อ 2. คุณภาพทางการศึกษา มีค่าเฉลี่ย (= 4.56) รองลงมาคือข้อ 1. ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย และ ข้อ3. มหาวิทยาลัยมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคม มีค่าเฉลี่ย (= 4.50) ระดับปานกลางคือ ข้อ5. มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นมหาวิทยาลัยที่สร้างชื่อเสียงให้แก่สังคม มีค่าเฉลี่ย (= 4.46)  และในข้อ 4. อาจารย์ในมหาวิทยาลัยมีความรู้ ความสามารถที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปและข้อ 6. หลักสูตรที่เปิดสอนมีความเหมาะสมและน่าสนใจ มีค่าเฉลี่ยน้อย (= 4.36) ตามลำดับ

ตอนที่ 3 สถานภาพทางครอบครัว


        จากตารางที่ 4.1 แสดงสถานภาพทางครอบครัวของกลุ่มตัวอย่าง  ซึ่งเป็นนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม ผู้วิจัยสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
เมื่อจำแนกตามสถานภาพครอบครัว พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม มี บิดา-มารดาอยู่ด้วยกัน คิดเป็นร้อยละ80 จำนวน 24 คน บิดา-มารดาหย่าร้าง คิดเป็นร้อยละ 10.00 จำนวน 3 คน และบิดา-มารดาคนใดคนหนึ่งเสียชีวิต หรือทั้งคู่ คิดเป็นร้อยละ 10.00 จำนวน 3 คน
เมื่อจำแนกรายได้หลักของครอบครัวพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีรายได้หลักมาจากบิดามารดามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 60.00 จำนวน 18 คน รองลงมาคือ หัวหน้าครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 20.00 จำนวน 6 คน สามี/ภรรยา คิดเป็น 16.67 จำนวน 5 คน และ ลุง/ป้า/น้า/อา คิดเป็นร้อยละ3.33 จำนวน 1 คน
        เมื่อจำแนกตามความเพียงพอของรายได้สำหรับรายจ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของครอบครัว แบ่ง3ข้อ พบว่า คือ
        เมื่อจำแนกตามครอบครัวของท่านมีรายได้เป็นอย่างไร พบว่า  รายรับ-รายจ่ายพอๆกัน มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 76.67 จำนวน 23 คน รายรับน้อยกว่ารายจ่าย คิดเป็นร้อยละ 16.67 จำนวน 5 คน และรายรับมากกว่ารายจ่ายคิดเป็นร้อยละ 6.67 จำนวน 2 คน
เมื่อจำแนกตามหนี้สินของครอบครัว พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีหนี้สินระดับปานกลางมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 63.33 จำนวน 19 คน รองลงมาคือ มีน้อยคิดเป็นร้อยละ 20 จำนวน 6 คน มีมากคิดเป็นร้อยละ 13.33 จำนวน 4 คน และไม่มีคิดเป็นร้อยละ 3.33 จำนวน 1 คน
เมื่อจำแนกตามเงินออมของครอบครัว พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีเงินออมอยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 70.00 จำนวน 21 คน รองลงมาคือ มีน้อยคิดเป็นร้อยละ 30.00 จำนวน 9 คน
เมื่อจำแนกตามรายได้ของผู้ปกครองเฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีรายได้ของผู้ปกครองเฉลี่ยต่อเดือน 10000-20000 บาท มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 26.67 จำนวน 8 คน รองลงมาคือ 5000-10000 บาทและ มากกว่า 30000บาท คิดเป็นร้อยละ23.33 จำนวน 7 คน และ น้อยกว่า 5000 บาท คิดเป็นร้อยละ 13.33 จำนวน 4 คน

บทที่ 3 - วิธีการดำเนินงาน


        งานวิจัยปัจจัยที่ส่งผลในการเลือกเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพะเยาพิทยาคมมีขั้นตอนและวิธีการดาเนินการโครงการดังนี้
        1) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
        2) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการ
        3) การเก็บรวบรวมข้อมูล
        4) สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลมีรายละเอียดดังนี้

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

        1. ประชากร
        ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพะเยาพิทยาคมมีจำนวนทั้งหมด 605 คน

        2. กลุ่มตัวอย่าง
        โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่  ที่ 5โรงเรียนพะเยาพิทยาคม จำนวน 30 คน จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ทั้งหมด

เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการ

        ในการทำวิจัยครั้งนี้ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ
        ตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถามได้แก่ อายุ  เพศ ระดับชั้น ผลการเรียนโดยผู้ตอบแบบสอบถามเลือกตามความเป็นจริง ( Check-list )
        ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยในการเลือกเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา แบ่งออกเป็น 3ตอน คือ 2.1มหาวิทยาลัยที่คุณต้องการเข้าศึกษามากที่สุด  2.2ความคิดเห็นของนักเรียนต่อมหาวิทยาลัย  2.3ปัจจัยในการเลือกสถานศึกษา มีระดับประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับของ
ลิเคิร์ท(Likert Scales)

                    5 หมายถึง มากที่สุด
                    4 หมายถึง มาก
                    3 หมายถึง ปานกลาง
                    2 หมายถึง น้อย
                    1 หมายถึง น้อยที่สุด

        ตอนที่ 3 สถานภาพทางครอบครัว  ได้แก่ สถานภาพครอบครัว รายได้หลักของครอบครัวมาจากใคร ความเพียงพอของรายได้สำหรับรายจ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของครอบครัว รายได้ผู้ปกครองเฉลี่ยต่อเดือน
        ตอนที่ 4 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

การเก็บรวบรวมข้อมูล

        ผู้จัดทำได้ดาเนินการเก็บข้อมูลการศึกษาในครั้งนี้อย่างเป็นขั้นตอนดังนี้

        1. ผู้จัดทำทำการแจงแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30ชุดโดยให้ผู้ตอบ  แบบสอบถามกรอกแบบสอบถามด้วยตนเอง

        2. การเก็บรวบรวมแบบสอบถามผู้จัดทำได้เก็บรวบรวมแบบสอบถาม จำนวน 30 ชุด ด้วยตนเอง

สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล

        ทำการวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
       
        ค่าสถิติพื้นฐาน  ได้แก่ ร้อยละ(Percentage) การหาค่าเฉลี่ย และการหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

บทที่ 2 - ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง


        โครงการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลในการเลือกเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้อง

        1) ความหมายของมหาวิทยาลัย
        2) ประเภทของมหาวิทยาลัย
        3) ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับห้องมหาวิทยาลัย
        4) แนวคิดเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย

ความหมายของมหาวิทยาลัย

        มหาวิทยาลัย หมายถึง สถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ในด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงหลากหลายสาขาวิชา เพื่อให้ประกาศนียบัตรอนุปริญญา หรือปริญญา แก่ผู้สำเร็จการศึกษาในหลายระดับรวมถึง ปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก รวมทั้งการทำการวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม
        วิทยาลัย หมายถึง สถานที่ที่มีวิทยาการ มหาแปลว่ายิ่งใหญ่ คำว่ามหาวิทยาลัยจึงหมายถึงสถานที่ที่มีวิทยาการที่ยิ่งใหญ่

ประเภทของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

        1.มหาวิทยาลัยของรัฐบาล

        สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ หรือ มหาวิทยาลัยรัฐ คือ สถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับอุดหนุนงบประมาณส่วนใหญ่จากรัฐ โดยผ่านรัฐบาลกลางหรือรัฐบาลท้องถิ่น

        ในประเทศไทย หมายถึงสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (เดิมคือ ทบวงมหาวิทยาลัย) ประกอบด้วยทั้ง มหาวิทยาลัยจำกัดรับในระบบราชการ เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ฯลฯ มหาวิทยาลัยจำกัดรับนอกระบบราชการ (สถาบันอุดมศึกษาในกำกับขอรัฐบาล) เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยไม่จำกัดรับ ได้แก่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช(วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี,๒๕๕๕:ออนไลน์)

        2.มหาวิทยาลัยของเอกชน

        สถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือมหาวิทยาลัยเอกชน คือ สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดทำการเรียนการสอนภายใต้การบริหารของหน่วยงานเอกชน

        ในประเทศไทย สถาบันอุดมศึกษาเอกชนอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา การวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม โดยหลักสูตรที่ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนนั้น หลังจากได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแล้ว จะส่งหลักสูตรดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนพิจารณารับรองคุณวุฒิ เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถบรรจุเข้ารับราชการในอัตราเงินเดือนเทียบเท่ากับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับห้องมหาวิทยาลัย

        วิธีการเรียนในมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพการเตรียมตัวก่อนไปเรียน นักศึกษาควรจะต้อง
        - จัดหนังสือและสมุดตามตารางเรียนให้ครบ
        - เตรียมเครื่องมือการเรียนให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็นปากกา ดินสอ ปากกาลบคำผิด และอื่นๆ
        - ถ้ายังไม่ง่วงจนเกินไป ก็ควรเปิดตำราอ่านก่อนล่วงหน้า  เพราะจะทำให้เราทราบว่าวิชานี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรบ้าง
        - นอนพักผ่อนให้เพียงพอ  เวลาตื่นนอนตอนเช้าจะได้รู้สึกสดชื่น สมองปลอดโปร่ง  เมื่อถึงเวลาที่เราเข้าฟังการบรรยายในห้องเรียน สิ่งที่เราควร

วัตถุประสงค์ในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย

        1. เพื่อแสวงความรู้ที่มีอย่างไม่สิ้นสุดในโลกนี้
        2. รายได้เฉลี่ยของผู้เรียนจบมหาวิทยาลัยสูงกว่าผู้ไม่ได้เรียนมหาวิทยาลัย
        3. ผู้จบมหาวิทยาลัยได้งานที่ดีกว่า ทั้งลักษณะงาน บรรยากาศการทำงาน และสวัสดิการต่าง ๆ ที่ได้รับ
        4. อัตราผู้ว่างงานที่ไม่จบมหาวิทยาลัยสูงกว่าผู้เรียนจบมหาวิทยาลัย
        5. ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งรายได้ระหว่างผู้ที่จบมหาวิทยาลัยกับผู้ไม่ จบมหาวิทยาลัยแตกต่างกันมากในระยะยาว ยิ่งเวลาผ่านไปยิ่งมีช่องว่างมากขึ้น
        6. ผู้ที่มาจากครอบครัวมีรายได้น้อยเมื่อเรียนจบมหาวิทยาลัยสามารถยกระดับฐานะ ทางเศรษฐกิจได้มากกว่าผู้ที่มาจากครอบครัวมีรายได้มากแต่ไม่เรียนจบ มหาวิทยาลัย
        7. การทำงานในระดับสูงจำเป็นต้องมีความรู้ระดับสูง และความรู้นั้นมีอยู่เฉพาะในมหาวิทยาลัยเท่านั้น การจะเป็นผู้นำหรือเอาชนะผู้อื่นได้ต้องมีความรู้ที่สูงกว่า หรือมากกว่า

แนวความคิดเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย

        แนวความคิดเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยโดยทั่วไปซึ่งมีอยู่ 3 ประการ ได้แก่
        1. สอนนิสิตนักศึกษาให้มีความรู้ในศิลปวิทยายอดเยี่ยมขึ้น
        2. วิจัยให้ศิลปวิทยาก้าวหน้าแตกฉานยิ่งๆ ขึ้นไป
        3. อำนวยประโยชน์โดยตรงแก่สังคม

แนวความคิดที่ ๑ สอนนิสิตนักศึกษาให้มีความรู้ในศิลปวิทยายอดเยี่ยมขึ้น
        มหาวิทยาลัยถือเป็นสถาบันที่มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษา และเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อให้นิสิตนักศึกษาสามารถเข้ามาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมได้ตลอดเวลา ตามแนวความคิดที่ ๑ นี้ เป็นแนวความคิดเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของมหาวิทยาลัยในการสอนนิสิตนักศึกษาให้มีความรู้ในศิลปวิทยายอดเยี่ยมขึ้น กล่าวคือ เป็นการอบรมให้นิสิตนักศึกษามีความเป็นปัญญาชน มีความรอบรู้ สามารถพิจารณาทั้งกรณีโลกและกรณีธรรมและสามารถใช้สติปัญญาคิดอ่านโดยชอบธรรม หากนิสิตนักศึกษาพิจารณาแต่เพียงด้านใดด้านหนึ่งแล้วย่อมไม่อาจถือได้ว่าเป็นผู้มีความรู้ในศิลปวิทยาที่ยอดเยี่ยมขึ้นแต่อย่างใด
        ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายของคำว่า “ศิลปวิทยา” ไว้ หมายถึง ศิลปะและวิชาการ จึงเห็นได้ว่า ถ้อยคำดังกล่าวมิได้หมายความเพียงความรู้ทางด้านศิลปะหรือความรู้ทางด้านวิชาการแต่เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้นแต่ต้องประกอบไปด้วยความรู้ทั้งทางด้านศิลปะและด้านวิชาการเข้าด้วยกัน จึงจะเป็นความรู้ในศิลปะวิทยาที่สมบูรณ์

แนวความคิดที่ ๒ วิจัยให้ศิลปวิทยาก้าวหน้าแตกฉานยิ่งๆ ขึ้นไป
        นอกจากมหาวิทยาลัยจะมีบทบาทในการสอนนิสิตนักศึกษาให้มีความรู้ในศิลปวิทยาที่ยอดเยี่ยมขึ้นแล้ว มหาวิทยาลัยยังมีบทบาทที่สำคัญในการค้นคว้าวิจัยเพื่อให้ศิลปวิทยามีความก้าวหน้าและแตกฉานยิ่งๆ ขึ้นไปอีกด้วย โดยมหาวิทยาลัยต้องกลั่นกรองจากการพิจารณาพลวัตในวิวัฒนาการของความคิดและกิจกรรมของบุคคล สถาบัน และกลไกที่เกี่ยวข้องที่ผ่านมาในระยะยาว โดยมีการสรุปและประมวลผลว่าในอดีตที่ผ่านมานั้น มหาวิทยาลัยยังขาดตกบกพร่องในทางศิลปวิทยาอย่างไรบ้าง เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นต่อไป
           
แนวความคิดที่ ๓ อำนวยประโยชน์โดยตรงแก่สังคม
        การให้บริการทางวิชาการของมหาวิทยาลัยถือได้ว่าเป็นการอำนวยประโยชน์อย่างหนึ่งให้แก่สังคมโดยตรงได้เช่นกัน กล่าวคือ ทำให้ประชาชนในประเทศมีความรู้สูงขึ้นในระดับปัญญาชน เมื่อประชาชนมีความรู้สูงขึ้นแล้ว การก่ออาชญากรรมก็ลดน้อยลง สังคมจะประกอบด้วยผู้มีความรู้เป็นจำนวนมาก นำพาให้ประเทศชาติมีแต่ความเจริญและก้าวหน้าทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
        ในทางกลับกัน ก็หาเป็นเช่นที่กล่าวข้างต้นเสมอไปไม่ เนื่องจากเมื่อคนในสังคมมีความรู้สูงขึ้น แต่หากไม่มีจริยธรรมประจำตนแล้ว ก็จะหาความสงบและสันติในสังคมนั้นไม่ได้ มีการแก่งแย่งชิงดีเกิดขึ้นภายในสังคม ก่อให้เกิดความเห็นแก่ตัวสูง และอาจเป็นที่มาของการเกิดคอรัปชั่นภายในบ้านเมืองนั้นๆ ได้เช่นกัน

บทที่ 1 - บทนำ


ความเป็นมาและความสำคัญ

        ในอดีตที่ผ่านมาการศึกษาระดับสูงยังมีความต้องการไม่มาก จึงทำให้ผู้ที่ศึกษาอยู่นั้นไม่มีความต้องการที่จะเรียนต่อในระดับสูงขึ้น ต่อมาประเทศไทยก็เริ่มที่จะวางแผนการศึกษาในระดับปริญญา เพราะเห็นว่าการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาความรู้  ความเชี่ยวชาญ  แนวคิด วิธีการปฏิบัติ  เพื่อให้ผู้ที่ได้รับการศึกษาสามารถปรับสภาพในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม  เป็นการเพิ่มพูนศักยภาพและมาตรฐานการทำงานของบุคคลให้มีประสิทธิภาพ  ปัจจุบันการเรียนในระบันบัณฑิตศึกษาในสถาบันของรัฐและเอกชนมีเพิ่มมากขึ้น  เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ต้องการแสวงหาความรู้และประสบการณ์  สามารถเลือกเข้าศึกษาต่อได้ตามต้องการ

        เมื่อปี พ.ศ. 2539 ประเทศไทยเราได้กำหนดวิสัยทัศน์ทางด้านการศึกษาข้อหนึ่งว่า“เป้าหมายในการพัฒนาประเทศในอีก 25 ปีข้างหน้า หรือปี 2563 เด็กไทยจะได้เรียนขั้นต่ำ ถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายทุกคน และกว่าร้อยละ50 ได้เรียนถึงมหาวิทยาลัย” 

(สิปปนนท์ เกตุทัต2539 : 3) จากวิสัยทัศน์ดังกล่าวนี้ตีความได้ว่ารัฐต้องการให้เด็กไทยมีการศึกษาสูงขึ้น การมีการศึกษาสูงขึ้นเป็นการเพิ่มคุณภาพของคนและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542มาตรา 4 ได้ให้ความหมายของคำว่า “การศึกษา” ว่าการศึกษาคือ กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต(กระทรวงศึกษาธิการ 2542 : 2) จากความหมายของการศึกษาดังกล่าว ได้เน้นให้เห็นถึงบทบาทของการศึกษาต่อการพัฒนาคนเพื่อให้คนมีคุณภาพเมื่อคนไทยเป็นคนมีคุณภาพ ประเทศไทยก็มีความสามารถแข่งขันทาเศรษฐกิจ และความเจริญด้านอื่น ๆ ก็จะตามมา  

        ปัจจุบัน ระบบการศึกษาไทยมีกฎหมายบังคับให้เยาวชนศึกษาเล่าเรียนจนสำเร็จการศึกษา
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังจากนั้นส่วนมากก็ศึกษาต่อสายสามัญ (มัธยมศึกษาตอนปลาย3 ปี)และสายอาชีพ (หลักสูตร ปวช. 3 ปี หรือหลักสูตรระยะสั้น) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรสายสามัญส่วนใหญ่แล้วจะไป ศึกษาต่อในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น คือระดับอุดมศึกษา (หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี)

        การที่จะศึกษาต่อหลักสูตรใด สาขาใดสถาบันการศึกษาแห่งใด (ของรัฐหรือเอกชน)
ก็ขึ้นอยู่กับสภาพความเหมาะสมของสถาบันนั้นว่าสามารถสนองความต้องการของพวกเขาได้เพียงไร 

        โดยทฤษฎีของมาสโลว์ (บ้านจอมยุทธ,2543:ออนไลน์) กล่าวเกี่ยวว่า พฤติกรรมของบุคคลมีความสัมพันธ์กับความต้องการของบุคคล จัดเป็นระดับขั้นความต้องการของมนุษย์ไว้ 5 ประเภท 5 ขั้นตอน ดังนี้

        •ขั้นที่ 1 ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological needs) ความต้องการในขั้นนี้เป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน (Basic needs) ซึ่งมีพลังมากที่สุดเพราะเป็นความต้องการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ตัวอย่างเช่น ความต้องการอากาศ อาหาร ยารักษาโรค หากความต้องการขั้นแรกยังไม่ได้รับการตอบสนองก็ยากที่จะพัฒนาสู่ขั้นอื่นๆ ได้

        •ขั้นที่ 2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety and security needs) ความต้องการในขั้นนี้จะเกิดเมื่อขั้นแรกได้รับการตอบสนอง ความต้องการในขั้นนี้เป็นความต้องการที่จะรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง หากไม่ได้รับการตอบสนองหากไม่ได้รับการตอบสนองจะเกิดความรู้สึกหวาดกลัว ผวา รู้สึกไม่มั่นคง

        •ขั้นที่ 3 ความต้องการความรัก และความเป็นเจ้าของ (Belonging and love needs) เมื่อ 2 ขั้นแรกได้รับการสนองความต้องการแล้ว มนุษย์จะสร้างความรักและความผูกพันกับผู้อื่น

        •ขั้นที่ 4 ความต้องการการได้รับการยกย่องนับถือ (Esteem needs) แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ 
                - ความต้องการนับถือตนเอง (Self-respect) คือ ความต้องการมีอำนาจ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความสามารถและความสำเร็จ มีความเคารพนับถือตนเอง 
                - ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ (Esteem from others) คือ ความต้องการชื่อเสียงเกียรติยศ การยอมรับยกย่องจากผู้อื่น

        •ขั้นที่ 5 ความต้องการที่จะเข้าใจประจักษ์ตนเองอย่างแท้จริง (Self-actualization needs) เป็นความต้องการเพื่อตระหนักรู้ความสามารถของตนกับประพฤติปฏิบัติตนตามความสามารถ และสุดความสามารถ โดยเพ่งเล็งประโยชน์ของคนอื่นและของสังคมส่วนรวมเป็นสำคัญ

        จากข้อความต้องการของบุคคลดังกล่าวขั้นสูงสุดก็คือความสมบูรณ์ของตน เป็นตัวตน
ของตน หรือความสำเร็จ ความก้าวหน้าของตนซึ่งหมายรวมทั้งความเจริญงอกงามทั้งส่วนตนและการประกอบอาชีพ รองลงมาก็คือ การยอมรับการให้เกียรติ การยกย่องจากเพื่อน จากชุมชน
และสังคม ขั้นรองลงมาอีกก็เป็นความต้องการความเป็นเจ้าของ ความปลอดภัย และขั้นพื้นฐาน
สุดคือความต้องการทางด้านปัจจัยสี่คือ อาหารเครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญในการอยู่ในสังคม ดังนั้นมนุษย์จึงต้องแสวงหาสิ่งต่างๆ ที่จะมาทำให้ชีวิตก้าวหน้านั่นก็คือการศึกษาที่สูงขึ้น เพื่อจะได้เป็นรากฐานในการดำเนินชีวิต

        การศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเป็นเสมือนแหล่งความรู้ที่จะเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการ  เพื่อใช้เป็นปัจจัยในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  อันเป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ  บุคคลทั่วไปจังให้ความสำคัญแก่การศึกษา  โดยมีแนวคิดว่าผู้ที่มีกาศึกษาสูงจะมีโอกาสเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ ได้ดีกว่า ดังนั้นบุคคลทั่วไปจึงพยายามที่จะศึกษาให้ถึงระดับสูง  คือ  ระดับอุดมศึกษา  จนมีคำกล่าวว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่นิยมคนที่มีปริญญา ค่านิยมในการรับปริญญา ซึ่งการรับปริญญาจะมีประโยชน์ในการทำงาน  ลักษณะงานหลายอย่างในประเทศไทยขึ้นอยู่กับปริญญา  ไม่ได้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความรู้ความสามารถเพียงอย่างเดียว  จึงมีผู้ต้องการศึกษาหาความรู้เป็นจำนวนมาก

        ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำจึงมีความสนใจที่จะศึกษาปัจจัยในการเลือกเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยที่นักเรียนสนใจเข้ามากที่สุดซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการเลือกและตัดสินใจเลือกเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย 

        1.เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลในการเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
        2.เพื่อศึกษาวิทยาลัยที่นักเรียนต้องการเข้ามากที่สุด
        3.เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจในการเลือกเข้ามหาวิทยาลัย

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

        1. ประชากรที่ใช้ศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่6 โรงเรียนพะเยาพิทยาคม จำนวนทั้งหมด 605 คน นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 30 คน
        2. ขอบเขตด้านเนื้อหาครั้งนี้ ศึกษาถึงปัจจัยในการเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย
                1)ด้านชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย
                2) ด้านความคาดหวังของนักศึกษา
                3) ด้านการจัดการเรียนการสอน
                4) ด้านความตั้งใจส่วนตัว
                5) ด้านความคาดหวังด้านอาชีพ
                6) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก

นิยามศัพท์เฉพาะ

        มหาวิทยาลัย   สถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ในด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงหลากหลายสาขาวิชา เพื่อให้ประกาศนียบัตร อนุปริญญา หรือปริญญา แก่ผู้สำเร็จการศึกษาในหลายระดับรวมถึง ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก รวมทั้งการทำการวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม (วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี,๒๕๔๙:ออนไลน์)

        การศึกษา คือ การสร้างคนให้มีความรู้ ความสามารถมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นมีลักษณะนิสัยจิตใจที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะ ประกอบการงานอาชีพได้   การศึกษาช่วยให้คนเจริญงอกงาม ทั้งทางปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม การศึกษาจึงเป็นความจำเป็นของชีวิตอีกประการหนึ่ง (Benzcup,2548:ออนไลน์)

        ความพึงพอใจ (Gratification) ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานเป็นเรื่องของความรู้สึกที่มีความสึกของบุคคลที่มีต่องานที่ปฏิบัติอยู่และความพึงพอใจจะส่งผลต่อขวัญในการปฏิบัติงานพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2542: 775)

        รัฐบาล คือองค์การที่มีอำนาจในการออกและบังคับใช้กฎหมาย สำหรับดินแดนหนึ่งๆ นิยามที่ชัดเจนของรัฐบาลนั้นมีอยู่หลายนิยาม ในกรณีทั่วไป รัฐบาล คือผู้ที่มีอำนาจในการปกครอง กล่าวคือมีอำนาจในการบริหารจัดการเหนือพื้นที่ใดๆ หรือเหนือกลุ่มคน
(วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี,๒๕๕๖:ออนไลน์)