วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่ 4 - ผลการดำเนินงาน


        งานวิจัย ความต้องการในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลการดำเนินงานวิจัยดังนี้
        1) ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
        2) การวิเคราะห์ความคิดเห็น 3)สถานภาพทางครอบครัว มีรายละเอียดดังนี้

ตอนที่ 1 ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล

ตารางที่ 4.1 แสดงจำนวนร้อยละปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล


        จากตารางที่ 4.1 แสดงปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง  ซึ่งเป็นนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม ผู้วิจัยสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้

        เมื่อจำแนกตามเพศ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 40 จำนวน 12 คน เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 60 จำนวน 18 คน

        เมื่อจำแนกตามอายุพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีอายุ 16 ปี ร้อยละ 23.33 จำนวน 7 คน อายุ 17 ปี คิดเป็นร้อยละ 73.33 จำนวน 22 คน อายุ18 ปี คิดเป็นร้อยละ 3.33 จำนวน 1 คน

        เมื่อจำแนกตามการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม อยู่ในระดับชันมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนกการเรียน วิทย์-คณิต คิดเป็นร้อยละ 100 จำนวน 30 คน

        เมื่อจำแนกตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีผลการเรียนอยู่ที่ 2.00-2.99 คิดเป็นร้อยละ 13.33 จำนวน 4 คน  3.00-4.00 คิดเป็นร้อยละ 86.67 จำนวน 26 คน

ตอนที่ 2 ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการศึกษาต่อมหาวิทยาลัย

ตารางที่ 4.1 มหาวิทยาลัยที่คุณต้องการเข้าศึกษาต่อมากที่สุด


        จากตารางที่ 4.1 แสดงมหาวิทยาลัยที่คุณต้องการเข้าศึกษาต่อมากที่สุดของกลุ่มตัวอย่าง  ซึ่งเป็นนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม ผู้วิจัยสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้

        เมื่อทำการพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มหาวิทยาลัยที่ต้องการเข้ามากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คิดเป็นร้อยละ 43.33 จำนวน 13คน รองลงมาคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คิดเป็นร้อยละ 30.00 จำนวน 9 คน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 10.00 จำนวน 3 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 6.67 จำนวน 2 คน มหาวิทยาลัยมหิดล คิดเป็นร้อยละ 3.33 จำนวน 1 คน มหาวิทยาลัยศิลปากร คิดเป็นร้อยละ 3.33 จำนวน 1 คน และมหาวิทยาลัยนเรศวร คิดเป็นร้อยละ 3.33 จำนวน 1 คน ตามลำดับ

ตาราง 4.2 ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยพิมพ์สมการที่นี่งเบนมาตรฐาน (S.D) ระดับความต้องการในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้านคิดเห็นของนักเรียนต่อ  มหาวิทยาลัย โดยภาพรวม



        จากตารางที่ 4.2 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (= 4.41) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อมหาวิทยาลัยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ 3. รู้สึกภูมิใจที่ได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ และ 5. ข้าพเจ้าต้องการเข้ามหาวิทยาลัยแห่งนี้ ค่าเฉลี่ย (= 4.70) รองลงมาคือข้อ4. กล่าวถึงมหาวิทยาลัยแห่งนี้ มีค่าเฉลี่ย (= 4.33) และข้อ 1. พอใจกับหลักสูตรของมหาวิทยาลัย และข้อ 2. จบมาแล้วมีงานมารองรับ มีค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง (= 4.16) ตามลำดับ

        ตารางที่ 4.3 ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ระดับความต้องการในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้านความน่าเชื่อถือของมหาวิทยาลัยต่อผู้เข้าศึกษา


        จากตารางที่ 4.3 กลุ่มตัวอย่างต้องการในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย (= 4.45)
        เมื่อทำการพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อความน่าเชื่อถือของมหาวิทยาลัย ระดับมากที่สุดคือข้อ 2. คุณภาพทางการศึกษา มีค่าเฉลี่ย (= 4.56) รองลงมาคือข้อ 1. ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย และ ข้อ3. มหาวิทยาลัยมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคม มีค่าเฉลี่ย (= 4.50) ระดับปานกลางคือ ข้อ5. มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นมหาวิทยาลัยที่สร้างชื่อเสียงให้แก่สังคม มีค่าเฉลี่ย (= 4.46)  และในข้อ 4. อาจารย์ในมหาวิทยาลัยมีความรู้ ความสามารถที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปและข้อ 6. หลักสูตรที่เปิดสอนมีความเหมาะสมและน่าสนใจ มีค่าเฉลี่ยน้อย (= 4.36) ตามลำดับ

ตอนที่ 3 สถานภาพทางครอบครัว


        จากตารางที่ 4.1 แสดงสถานภาพทางครอบครัวของกลุ่มตัวอย่าง  ซึ่งเป็นนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม ผู้วิจัยสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
เมื่อจำแนกตามสถานภาพครอบครัว พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม มี บิดา-มารดาอยู่ด้วยกัน คิดเป็นร้อยละ80 จำนวน 24 คน บิดา-มารดาหย่าร้าง คิดเป็นร้อยละ 10.00 จำนวน 3 คน และบิดา-มารดาคนใดคนหนึ่งเสียชีวิต หรือทั้งคู่ คิดเป็นร้อยละ 10.00 จำนวน 3 คน
เมื่อจำแนกรายได้หลักของครอบครัวพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีรายได้หลักมาจากบิดามารดามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 60.00 จำนวน 18 คน รองลงมาคือ หัวหน้าครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 20.00 จำนวน 6 คน สามี/ภรรยา คิดเป็น 16.67 จำนวน 5 คน และ ลุง/ป้า/น้า/อา คิดเป็นร้อยละ3.33 จำนวน 1 คน
        เมื่อจำแนกตามความเพียงพอของรายได้สำหรับรายจ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของครอบครัว แบ่ง3ข้อ พบว่า คือ
        เมื่อจำแนกตามครอบครัวของท่านมีรายได้เป็นอย่างไร พบว่า  รายรับ-รายจ่ายพอๆกัน มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 76.67 จำนวน 23 คน รายรับน้อยกว่ารายจ่าย คิดเป็นร้อยละ 16.67 จำนวน 5 คน และรายรับมากกว่ารายจ่ายคิดเป็นร้อยละ 6.67 จำนวน 2 คน
เมื่อจำแนกตามหนี้สินของครอบครัว พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีหนี้สินระดับปานกลางมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 63.33 จำนวน 19 คน รองลงมาคือ มีน้อยคิดเป็นร้อยละ 20 จำนวน 6 คน มีมากคิดเป็นร้อยละ 13.33 จำนวน 4 คน และไม่มีคิดเป็นร้อยละ 3.33 จำนวน 1 คน
เมื่อจำแนกตามเงินออมของครอบครัว พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีเงินออมอยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 70.00 จำนวน 21 คน รองลงมาคือ มีน้อยคิดเป็นร้อยละ 30.00 จำนวน 9 คน
เมื่อจำแนกตามรายได้ของผู้ปกครองเฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีรายได้ของผู้ปกครองเฉลี่ยต่อเดือน 10000-20000 บาท มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 26.67 จำนวน 8 คน รองลงมาคือ 5000-10000 บาทและ มากกว่า 30000บาท คิดเป็นร้อยละ23.33 จำนวน 7 คน และ น้อยกว่า 5000 บาท คิดเป็นร้อยละ 13.33 จำนวน 4 คน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น