วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่ 2 - ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง


        โครงการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลในการเลือกเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้อง

        1) ความหมายของมหาวิทยาลัย
        2) ประเภทของมหาวิทยาลัย
        3) ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับห้องมหาวิทยาลัย
        4) แนวคิดเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย

ความหมายของมหาวิทยาลัย

        มหาวิทยาลัย หมายถึง สถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ในด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงหลากหลายสาขาวิชา เพื่อให้ประกาศนียบัตรอนุปริญญา หรือปริญญา แก่ผู้สำเร็จการศึกษาในหลายระดับรวมถึง ปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก รวมทั้งการทำการวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม
        วิทยาลัย หมายถึง สถานที่ที่มีวิทยาการ มหาแปลว่ายิ่งใหญ่ คำว่ามหาวิทยาลัยจึงหมายถึงสถานที่ที่มีวิทยาการที่ยิ่งใหญ่

ประเภทของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

        1.มหาวิทยาลัยของรัฐบาล

        สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ หรือ มหาวิทยาลัยรัฐ คือ สถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับอุดหนุนงบประมาณส่วนใหญ่จากรัฐ โดยผ่านรัฐบาลกลางหรือรัฐบาลท้องถิ่น

        ในประเทศไทย หมายถึงสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (เดิมคือ ทบวงมหาวิทยาลัย) ประกอบด้วยทั้ง มหาวิทยาลัยจำกัดรับในระบบราชการ เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ฯลฯ มหาวิทยาลัยจำกัดรับนอกระบบราชการ (สถาบันอุดมศึกษาในกำกับขอรัฐบาล) เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยไม่จำกัดรับ ได้แก่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช(วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี,๒๕๕๕:ออนไลน์)

        2.มหาวิทยาลัยของเอกชน

        สถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือมหาวิทยาลัยเอกชน คือ สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดทำการเรียนการสอนภายใต้การบริหารของหน่วยงานเอกชน

        ในประเทศไทย สถาบันอุดมศึกษาเอกชนอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา การวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม โดยหลักสูตรที่ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนนั้น หลังจากได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแล้ว จะส่งหลักสูตรดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนพิจารณารับรองคุณวุฒิ เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถบรรจุเข้ารับราชการในอัตราเงินเดือนเทียบเท่ากับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับห้องมหาวิทยาลัย

        วิธีการเรียนในมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพการเตรียมตัวก่อนไปเรียน นักศึกษาควรจะต้อง
        - จัดหนังสือและสมุดตามตารางเรียนให้ครบ
        - เตรียมเครื่องมือการเรียนให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็นปากกา ดินสอ ปากกาลบคำผิด และอื่นๆ
        - ถ้ายังไม่ง่วงจนเกินไป ก็ควรเปิดตำราอ่านก่อนล่วงหน้า  เพราะจะทำให้เราทราบว่าวิชานี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรบ้าง
        - นอนพักผ่อนให้เพียงพอ  เวลาตื่นนอนตอนเช้าจะได้รู้สึกสดชื่น สมองปลอดโปร่ง  เมื่อถึงเวลาที่เราเข้าฟังการบรรยายในห้องเรียน สิ่งที่เราควร

วัตถุประสงค์ในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย

        1. เพื่อแสวงความรู้ที่มีอย่างไม่สิ้นสุดในโลกนี้
        2. รายได้เฉลี่ยของผู้เรียนจบมหาวิทยาลัยสูงกว่าผู้ไม่ได้เรียนมหาวิทยาลัย
        3. ผู้จบมหาวิทยาลัยได้งานที่ดีกว่า ทั้งลักษณะงาน บรรยากาศการทำงาน และสวัสดิการต่าง ๆ ที่ได้รับ
        4. อัตราผู้ว่างงานที่ไม่จบมหาวิทยาลัยสูงกว่าผู้เรียนจบมหาวิทยาลัย
        5. ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งรายได้ระหว่างผู้ที่จบมหาวิทยาลัยกับผู้ไม่ จบมหาวิทยาลัยแตกต่างกันมากในระยะยาว ยิ่งเวลาผ่านไปยิ่งมีช่องว่างมากขึ้น
        6. ผู้ที่มาจากครอบครัวมีรายได้น้อยเมื่อเรียนจบมหาวิทยาลัยสามารถยกระดับฐานะ ทางเศรษฐกิจได้มากกว่าผู้ที่มาจากครอบครัวมีรายได้มากแต่ไม่เรียนจบ มหาวิทยาลัย
        7. การทำงานในระดับสูงจำเป็นต้องมีความรู้ระดับสูง และความรู้นั้นมีอยู่เฉพาะในมหาวิทยาลัยเท่านั้น การจะเป็นผู้นำหรือเอาชนะผู้อื่นได้ต้องมีความรู้ที่สูงกว่า หรือมากกว่า

แนวความคิดเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย

        แนวความคิดเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยโดยทั่วไปซึ่งมีอยู่ 3 ประการ ได้แก่
        1. สอนนิสิตนักศึกษาให้มีความรู้ในศิลปวิทยายอดเยี่ยมขึ้น
        2. วิจัยให้ศิลปวิทยาก้าวหน้าแตกฉานยิ่งๆ ขึ้นไป
        3. อำนวยประโยชน์โดยตรงแก่สังคม

แนวความคิดที่ ๑ สอนนิสิตนักศึกษาให้มีความรู้ในศิลปวิทยายอดเยี่ยมขึ้น
        มหาวิทยาลัยถือเป็นสถาบันที่มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษา และเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อให้นิสิตนักศึกษาสามารถเข้ามาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมได้ตลอดเวลา ตามแนวความคิดที่ ๑ นี้ เป็นแนวความคิดเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของมหาวิทยาลัยในการสอนนิสิตนักศึกษาให้มีความรู้ในศิลปวิทยายอดเยี่ยมขึ้น กล่าวคือ เป็นการอบรมให้นิสิตนักศึกษามีความเป็นปัญญาชน มีความรอบรู้ สามารถพิจารณาทั้งกรณีโลกและกรณีธรรมและสามารถใช้สติปัญญาคิดอ่านโดยชอบธรรม หากนิสิตนักศึกษาพิจารณาแต่เพียงด้านใดด้านหนึ่งแล้วย่อมไม่อาจถือได้ว่าเป็นผู้มีความรู้ในศิลปวิทยาที่ยอดเยี่ยมขึ้นแต่อย่างใด
        ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายของคำว่า “ศิลปวิทยา” ไว้ หมายถึง ศิลปะและวิชาการ จึงเห็นได้ว่า ถ้อยคำดังกล่าวมิได้หมายความเพียงความรู้ทางด้านศิลปะหรือความรู้ทางด้านวิชาการแต่เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้นแต่ต้องประกอบไปด้วยความรู้ทั้งทางด้านศิลปะและด้านวิชาการเข้าด้วยกัน จึงจะเป็นความรู้ในศิลปะวิทยาที่สมบูรณ์

แนวความคิดที่ ๒ วิจัยให้ศิลปวิทยาก้าวหน้าแตกฉานยิ่งๆ ขึ้นไป
        นอกจากมหาวิทยาลัยจะมีบทบาทในการสอนนิสิตนักศึกษาให้มีความรู้ในศิลปวิทยาที่ยอดเยี่ยมขึ้นแล้ว มหาวิทยาลัยยังมีบทบาทที่สำคัญในการค้นคว้าวิจัยเพื่อให้ศิลปวิทยามีความก้าวหน้าและแตกฉานยิ่งๆ ขึ้นไปอีกด้วย โดยมหาวิทยาลัยต้องกลั่นกรองจากการพิจารณาพลวัตในวิวัฒนาการของความคิดและกิจกรรมของบุคคล สถาบัน และกลไกที่เกี่ยวข้องที่ผ่านมาในระยะยาว โดยมีการสรุปและประมวลผลว่าในอดีตที่ผ่านมานั้น มหาวิทยาลัยยังขาดตกบกพร่องในทางศิลปวิทยาอย่างไรบ้าง เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นต่อไป
           
แนวความคิดที่ ๓ อำนวยประโยชน์โดยตรงแก่สังคม
        การให้บริการทางวิชาการของมหาวิทยาลัยถือได้ว่าเป็นการอำนวยประโยชน์อย่างหนึ่งให้แก่สังคมโดยตรงได้เช่นกัน กล่าวคือ ทำให้ประชาชนในประเทศมีความรู้สูงขึ้นในระดับปัญญาชน เมื่อประชาชนมีความรู้สูงขึ้นแล้ว การก่ออาชญากรรมก็ลดน้อยลง สังคมจะประกอบด้วยผู้มีความรู้เป็นจำนวนมาก นำพาให้ประเทศชาติมีแต่ความเจริญและก้าวหน้าทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
        ในทางกลับกัน ก็หาเป็นเช่นที่กล่าวข้างต้นเสมอไปไม่ เนื่องจากเมื่อคนในสังคมมีความรู้สูงขึ้น แต่หากไม่มีจริยธรรมประจำตนแล้ว ก็จะหาความสงบและสันติในสังคมนั้นไม่ได้ มีการแก่งแย่งชิงดีเกิดขึ้นภายในสังคม ก่อให้เกิดความเห็นแก่ตัวสูง และอาจเป็นที่มาของการเกิดคอรัปชั่นภายในบ้านเมืองนั้นๆ ได้เช่นกัน

1 ความคิดเห็น: