วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทคัดย่อ


        งานวิจัย ปัจจัยที่ส่งผลในการเลือกเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 พะเยาพิทยาคม ประกอบด้วย
        1) สรุปผลการดำเนินงานการวิจัย
        2) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลในการเลือกเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา
        3)ผลวิเคราะห์สถานภาพทางครอบครัว

สรุปผลการวิจัย ปรากฏดังนี้

        งานวิจัยศึกษาปัจจัยที่ส่งผลในการเลือกเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5
พะเยาพิทยาคม ผู้จัดทำงานวิจัยมีวัตถุประสงค์
        1.เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลในการเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
        2.เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีสถานภาพต่างกันในด้าน เพศของนักเรียน รายได้ และอาชีพของผู้ปกครองต่อการ  เลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
        3.เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจในการเลือกเข้ามหาวิทยาลัย

        ซึ่งในการศึกษาหาผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพะเยาพิทยาคม เลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน30 ชุด และ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D สามารถสรุปได้ดังนี้

        ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม มีทั้งหมด 30คน คิดเป็นร้อยละ 100 เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 40 จำนวน 12 คน เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 60 จำนวน 18 คน

        ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์มหาวิทยาลัยที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาต้องการเข้ามากที่สุด พบว่า ของกลุ่มตัวอย่าง มหาวิทยาลัยที่อยากเข้ามากที่สุด คือ  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คิดเป็นร้อยละ 43.33 จำนวน 13คน รองลงมาคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คิดเป็นร้อยละ 30.00 จำนวน 9 คน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 10.00 จำนวน 3 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 6.67 จำนวน 2 คน มหาวิทยาลัยมหิดล คิดเป็นร้อยละ 3.33 จำนวน 1 คน มหาวิทยาลัยศิลปากร คิดเป็นร้อยละ 3.33 จำนวน 1 คน และมหาวิทยาลัยนเรศวร คิดเป็นร้อยละ 3.33 จำนวน 1 คน ตามลำดับ

        อภิปรายปัจจัยที่ส่งผลในการเลือกเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 พะเยาโรงเรียนพิทยาคม พบว่า ระดับปัจจัย ของกลุ่มตัวอย่างที่เลือกเรียนต่อในระดับอุดมศึกษามากที่สุดคือ ด้านคิดเห็นของนักเรียนต่อมหาวิทยาลัย มีค่าเฉลี่ย (X = 4.41) รองลงมาคือ ด้านความน่าเชื่อถือของมหาวิทยาลัยต่อผู้เข้าศึกษา มีค่าเฉลี่ย (X= 4.45)

        ตอนที่ 3 ผลวิเคราะห์สถานภาพทางครอบครัวพบว่า

        1. ด้านสถานภาพครอบครัว พบว่า บิดา-มารดาอยู่ด้วยกัน คิดเป็นร้อยละ80 จำนวน 24 คน บิดา-มารดาหย่าร้าง คิดเป็นร้อยละ 10.00 จำนวน 3 คน และบิดา-มารดาคนใดคนหนึ่งเสียชีวิต หรือทั้งคู่ คิดเป็นร้อยละ 10.00 จำนวน 3 คน

        2. รายได้หลักของครอบครัวพบว่า มีรายได้หลักมาจากบิดามารดามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 60.00 จำนวน 18 คน รองลงมาคือ หัวหน้าครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 20.00 จำนวน 6 คน สามี/ภรรยา คิดเป็น 16.67 จำนวน 5 คน และ ลุง/ป้า/น้า/อา คิดเป็นร้อยละ3.33 จำนวน 1 คน

        3. ความเพียงพอของรายได้สำหรับรายจ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของครอบครัว แบ่ง3ข้อ พบว่า คือ
                3.1 ด้านตามครอบครัวของท่านมีรายได้เป็นอย่างไร พบว่า  รายรับ-รายจ่ายพอๆกัน มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 76.67 จำนวน 23 คน รายรับน้อยกว่ารายจ่าย คิดเป็นร้อยละ 16.67 จำนวน 5 คน และรายรับมากกว่ารายจ่ายคิดเป็นร้อยละ 6.67 จำนวน 2 คน
                3.2 ด้านหนี้สินของครอบครัว พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีหนี้สินระดับปานกลางมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 63.33 จำนวน 19 คน รองลงมาคือ มีน้อยคิดเป็นร้อยละ 20 จำนวน 6 คน มีมากคิดเป็นร้อยละ 13.33 จำนวน 4 คน และไม่มีคิดเป็นร้อยละ 3.33 จำนวน 1 คน
                3.3 ด้านเงินออมของครอบครัว พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีเงินออมอยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 70.00 จำนวน 21 คน รองลงมาคือ มีน้อยคิดเป็นร้อยละ 30.00 จำนวน 9 คน

  4. ด้านรายได้ของผู้ปกครองเฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีรายได้ของผู้ปกครองเฉลี่ยต่อเดือน 10000-20000 บาท มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 26.67 จำนวน 8 คน รองลงมาคือ 5000-10000 บาทและ มากกว่า 30000บาท คิดเป็นร้อยละ23.33 จำนวน 7 คน และ น้อยกว่า 5000 บาท คิดเป็นร้อยละ 13.33 จำนวน 4 คน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น