ความเป็นมาและความสำคัญ
ในอดีตที่ผ่านมาการศึกษาระดับสูงยังมีความต้องการไม่มาก จึงทำให้ผู้ที่ศึกษาอยู่นั้นไม่มีความต้องการที่จะเรียนต่อในระดับสูงขึ้น ต่อมาประเทศไทยก็เริ่มที่จะวางแผนการศึกษาในระดับปริญญา เพราะเห็นว่าการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาความรู้ ความเชี่ยวชาญ แนวคิด วิธีการปฏิบัติ เพื่อให้ผู้ที่ได้รับการศึกษาสามารถปรับสภาพในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เป็นการเพิ่มพูนศักยภาพและมาตรฐานการทำงานของบุคคลให้มีประสิทธิภาพ ปัจจุบันการเรียนในระบันบัณฑิตศึกษาในสถาบันของรัฐและเอกชนมีเพิ่มมากขึ้น เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ต้องการแสวงหาความรู้และประสบการณ์ สามารถเลือกเข้าศึกษาต่อได้ตามต้องการ
เมื่อปี พ.ศ. 2539 ประเทศไทยเราได้กำหนดวิสัยทัศน์ทางด้านการศึกษาข้อหนึ่งว่า“เป้าหมายในการพัฒนาประเทศในอีก 25 ปีข้างหน้า หรือปี 2563 เด็กไทยจะได้เรียนขั้นต่ำ ถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายทุกคน และกว่าร้อยละ50 ได้เรียนถึงมหาวิทยาลัย”
(สิปปนนท์ เกตุทัต2539 : 3) จากวิสัยทัศน์ดังกล่าวนี้ตีความได้ว่ารัฐต้องการให้เด็กไทยมีการศึกษาสูงขึ้น การมีการศึกษาสูงขึ้นเป็นการเพิ่มคุณภาพของคนและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542มาตรา 4 ได้ให้ความหมายของคำว่า “การศึกษา” ว่าการศึกษาคือ กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต(กระทรวงศึกษาธิการ 2542 : 2) จากความหมายของการศึกษาดังกล่าว ได้เน้นให้เห็นถึงบทบาทของการศึกษาต่อการพัฒนาคนเพื่อให้คนมีคุณภาพเมื่อคนไทยเป็นคนมีคุณภาพ ประเทศไทยก็มีความสามารถแข่งขันทาเศรษฐกิจ และความเจริญด้านอื่น ๆ ก็จะตามมา
ปัจจุบัน ระบบการศึกษาไทยมีกฎหมายบังคับให้เยาวชนศึกษาเล่าเรียนจนสำเร็จการศึกษา
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังจากนั้นส่วนมากก็ศึกษาต่อสายสามัญ (มัธยมศึกษาตอนปลาย3 ปี)และสายอาชีพ (หลักสูตร ปวช. 3 ปี หรือหลักสูตรระยะสั้น) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรสายสามัญส่วนใหญ่แล้วจะไป ศึกษาต่อในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น คือระดับอุดมศึกษา (หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี)
การที่จะศึกษาต่อหลักสูตรใด สาขาใดสถาบันการศึกษาแห่งใด (ของรัฐหรือเอกชน)
ก็ขึ้นอยู่กับสภาพความเหมาะสมของสถาบันนั้นว่าสามารถสนองความต้องการของพวกเขาได้เพียงไร
โดยทฤษฎีของมาสโลว์ (บ้านจอมยุทธ,2543:ออนไลน์) กล่าวเกี่ยวว่า พฤติกรรมของบุคคลมีความสัมพันธ์กับความต้องการของบุคคล จัดเป็นระดับขั้นความต้องการของมนุษย์ไว้ 5 ประเภท 5 ขั้นตอน ดังนี้
•ขั้นที่ 1 ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological needs) ความต้องการในขั้นนี้เป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน (Basic needs) ซึ่งมีพลังมากที่สุดเพราะเป็นความต้องการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ตัวอย่างเช่น ความต้องการอากาศ อาหาร ยารักษาโรค หากความต้องการขั้นแรกยังไม่ได้รับการตอบสนองก็ยากที่จะพัฒนาสู่ขั้นอื่นๆ ได้
•ขั้นที่ 2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety and security needs) ความต้องการในขั้นนี้จะเกิดเมื่อขั้นแรกได้รับการตอบสนอง ความต้องการในขั้นนี้เป็นความต้องการที่จะรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง หากไม่ได้รับการตอบสนองหากไม่ได้รับการตอบสนองจะเกิดความรู้สึกหวาดกลัว ผวา รู้สึกไม่มั่นคง
•ขั้นที่ 3 ความต้องการความรัก และความเป็นเจ้าของ (Belonging and love needs) เมื่อ 2 ขั้นแรกได้รับการสนองความต้องการแล้ว มนุษย์จะสร้างความรักและความผูกพันกับผู้อื่น
•ขั้นที่ 4 ความต้องการการได้รับการยกย่องนับถือ (Esteem needs) แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
- ความต้องการนับถือตนเอง (Self-respect) คือ ความต้องการมีอำนาจ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความสามารถและความสำเร็จ มีความเคารพนับถือตนเอง
- ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ (Esteem from others) คือ ความต้องการชื่อเสียงเกียรติยศ การยอมรับยกย่องจากผู้อื่น
•ขั้นที่ 5 ความต้องการที่จะเข้าใจประจักษ์ตนเองอย่างแท้จริง (Self-actualization needs) เป็นความต้องการเพื่อตระหนักรู้ความสามารถของตนกับประพฤติปฏิบัติตนตามความสามารถ และสุดความสามารถ โดยเพ่งเล็งประโยชน์ของคนอื่นและของสังคมส่วนรวมเป็นสำคัญ
จากข้อความต้องการของบุคคลดังกล่าวขั้นสูงสุดก็คือความสมบูรณ์ของตน เป็นตัวตน
ของตน หรือความสำเร็จ ความก้าวหน้าของตนซึ่งหมายรวมทั้งความเจริญงอกงามทั้งส่วนตนและการประกอบอาชีพ รองลงมาก็คือ การยอมรับการให้เกียรติ การยกย่องจากเพื่อน จากชุมชน
และสังคม ขั้นรองลงมาอีกก็เป็นความต้องการความเป็นเจ้าของ ความปลอดภัย และขั้นพื้นฐาน
สุดคือความต้องการทางด้านปัจจัยสี่คือ อาหารเครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญในการอยู่ในสังคม ดังนั้นมนุษย์จึงต้องแสวงหาสิ่งต่างๆ ที่จะมาทำให้ชีวิตก้าวหน้านั่นก็คือการศึกษาที่สูงขึ้น เพื่อจะได้เป็นรากฐานในการดำเนินชีวิต
การศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเป็นเสมือนแหล่งความรู้ที่จะเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการ เพื่อใช้เป็นปัจจัยในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อันเป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ บุคคลทั่วไปจังให้ความสำคัญแก่การศึกษา โดยมีแนวคิดว่าผู้ที่มีกาศึกษาสูงจะมีโอกาสเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ ได้ดีกว่า ดังนั้นบุคคลทั่วไปจึงพยายามที่จะศึกษาให้ถึงระดับสูง คือ ระดับอุดมศึกษา จนมีคำกล่าวว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่นิยมคนที่มีปริญญา ค่านิยมในการรับปริญญา ซึ่งการรับปริญญาจะมีประโยชน์ในการทำงาน ลักษณะงานหลายอย่างในประเทศไทยขึ้นอยู่กับปริญญา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความรู้ความสามารถเพียงอย่างเดียว จึงมีผู้ต้องการศึกษาหาความรู้เป็นจำนวนมาก
ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำจึงมีความสนใจที่จะศึกษาปัจจัยในการเลือกเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยที่นักเรียนสนใจเข้ามากที่สุดซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการเลือกและตัดสินใจเลือกเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
1.เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลในการเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
2.เพื่อศึกษาวิทยาลัยที่นักเรียนต้องการเข้ามากที่สุด
3.เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจในการเลือกเข้ามหาวิทยาลัย
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
1. ประชากรที่ใช้ศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่6 โรงเรียนพะเยาพิทยาคม จำนวนทั้งหมด 605 คน นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 30 คน
2. ขอบเขตด้านเนื้อหาครั้งนี้ ศึกษาถึงปัจจัยในการเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย
1)ด้านชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย
2) ด้านความคาดหวังของนักศึกษา
3) ด้านการจัดการเรียนการสอน
4) ด้านความตั้งใจส่วนตัว
5) ด้านความคาดหวังด้านอาชีพ
6) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก
นิยามศัพท์เฉพาะ
มหาวิทยาลัย สถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ในด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงหลากหลายสาขาวิชา เพื่อให้ประกาศนียบัตร อนุปริญญา หรือปริญญา แก่ผู้สำเร็จการศึกษาในหลายระดับรวมถึง ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก รวมทั้งการทำการวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม (วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี,๒๕๔๙:ออนไลน์)
การศึกษา คือ การสร้างคนให้มีความรู้ ความสามารถมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นมีลักษณะนิสัยจิตใจที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะ ประกอบการงานอาชีพได้ การศึกษาช่วยให้คนเจริญงอกงาม ทั้งทางปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม การศึกษาจึงเป็นความจำเป็นของชีวิตอีกประการหนึ่ง (Benzcup,2548:ออนไลน์)
ความพึงพอใจ (Gratification) ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานเป็นเรื่องของความรู้สึกที่มีความสึกของบุคคลที่มีต่องานที่ปฏิบัติอยู่และความพึงพอใจจะส่งผลต่อขวัญในการปฏิบัติงานพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2542: 775)
รัฐบาล คือองค์การที่มีอำนาจในการออกและบังคับใช้กฎหมาย สำหรับดินแดนหนึ่งๆ นิยามที่ชัดเจนของรัฐบาลนั้นมีอยู่หลายนิยาม ในกรณีทั่วไป รัฐบาล คือผู้ที่มีอำนาจในการปกครอง กล่าวคือมีอำนาจในการบริหารจัดการเหนือพื้นที่ใดๆ หรือเหนือกลุ่มคน
(วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี,๒๕๕๖:ออนไลน์)